สงสัยมั้ย เข้านอนก็ไว แต่ทำไมยังรู้สึกเหนื่อยเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่มอาจเป็นเพราะคุณกำลังมีปัญหา ‘นอนหลับไม่สนิท’ แต่อาการเหล่านี้เกิดจากอะไรและส่งผลเสียอย่างไรบ้าง มาดูกัน
อาการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นเพราะอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
ทราบหรือไม่ว่า คนไทยพบปัญหานอนหลับไม่สนิทกว่า 40% ของประชากรทั่วประเทศ หรือราว 19 ล้านคนเลยทีเดียว แม้ว่าจะเข้านอนไวมีจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับครบถ้วน แต่ก็ยังรู้สึกเหนื่อยเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ส่งผลกระทบรอบด้านตั้งแต่เรื่องเล็กจนเรื่องใหญ่ แต่อาการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นเพราะอะไรและส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง มาดูกัน
เช็คด่วน! คุณนอนหลับไม่สนิทอยู่รึเปล่า
ก่อนจะพาทุกคนไปดูว่าอาการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นเพราะอะไรและส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง มาเช็คกันก่อนดีกว่าว่า คุณกำลังเจอปัญหานอนหลับไม่สนิทอยู่รึเปล่า
- นอนหลับยากกว่าปกติ ใช้ระยะเวลาในการรับสนิทนานขึ้น
- ไม่ว่าจะเข้านอนไวหรือนอนช้า แต่กว่าจะหลับสนิทก็ดึกและอยากนอนตื่นสาย
- แม้จะได้นอนนาน แต่ตื่นแล้วรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่สามารถนอนต่อเนื่องยาวนานได้ตลอดคืน
- ในช่วงกลางวันรู้สึกปวดหัว คิดไม่ค่อย ออกจำไม่ค่อยได้
หากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังอยู่ในภาวะนอนหลับไม่สนิท แล้วถ้าเป็นต่อเนื่องอย่างน้อยสามวันต่อสัปดาห์ติดต่อกันนานสามเดือนหรือถึงขั้นกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวันอาจจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้
อาการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นเพราะอะไร
สงสัยกันแล้วล่ะสิว่า อาการนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นเพราะอะไร เผื่อรู้แล้วจะสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ตรงจุดมากขึ้น ความจริงแล้วอาการนอนหลับไม่สนิทอาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น
- ไลฟ์สไตล์การนอนผิดเวลา
ใครที่ชอบนอนดึกบ่อยจนทำให้เวลาเข้านอนผิดเพี้ยนเป็นประจำหรือต้องทำงานเปลี่ยนกะไม่แน่นอนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิทได้ เพราะโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีนาฬิกาชีวิตทำให้ร่างกายจดจำว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงเวลาตื่นและช่วงเวลาไหนคือช่วงเวลานอน หากนอนไม่เป็นเวลานาฬิกาชีวิตอาจจะรวนได้เหมือนกัน
- สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการนอน
ไม่ว่าจะอุณหภูมิ แสง เสียง หรืออะไรก็ตาม ทุกสิ่งที่เป็นสภาพแวดล้อมรอบตัวขณะนอนหลับล้วนส่งผลต่อสุขภาพการนอนหลับทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่เลยแนะนำให้นอนในที่เงียบสงบ
อุณหภูมิเย็นกำลังพอดี ไม่มีแสงสีเสียงค่อยรบกวน ก็จะหมดปัญหานอนหลับไม่สนิทไปได้เลย
- สุขภาพกายกระทบการนอนหลับ
ไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในอย่าง ‘สุขภาพร่างกาย’ ก็ส่งผลกระทบให้เกิดการนอนหลับไม่สนิทได้ เช่น มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หัวใจ ไมเกรน มะเร็ง ฯลฯ
- ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามวัย
นอกจากเรื่องการเจ็บป่วยที่พบอาการแทรกซ้อนให้เกิดการนอนหลับไม่สนิทแล้วการที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เช่น เข้าสู่ช่วงวัยชราหรือตั้งครรภ์ ฯลฯ ก็อาจเป็นอีกสาเหตุได้เช่นกัน เพราะการผลิตสารเซโรโทนิน (ฮอร์โมนเกี่ยวกับการนอนหลับ) เปลี่ยนแปลงไป
- จิตใจไม่นิ่งจนนอนหลับไม่สนิท
ไม่ใช่ทุกคนที่เหนื่อยหรือถึงเวลาเข้านอนแล้วจะนอนหลับได้ทันที เพราะถ้าจิตไม่นิ่ง เช่น โกรธ เครียด วิตกกังวล ฯลฯ บางทีก็ทำให้นอนหลับไม่สนิทได้เหมือนกัน
- ทานอาหารมื้อหนักหรือเครื่องดื่มบางชนิด
ใครว่า หนังท้องตึงหนังตาหย่อนเป็นเรื่องจริงเสมอไป บอกเลยว่า คิดผิด เพราะการทานอาหารมื้อหนักย่อยยากหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชาที่มีคาเฟอีนสูง กาแฟ น้ำอัดลม หรืออื่น ๆ อาจทำให้ร่างกายถูกรบกวนจนนอนหลับไม่สนิทได้ (แต่ก็ไม่ใช่ปล่อยให้ท้องว่างนะเพราะบางทีก็จะลุกมากินอยู่ดี)
- ผลข้างเคียงจากยาบางประเภท
ยารักษาโรคบางตัวที่ไปกระตุ้นหมวกไตให้ร่างกายตื่นตัว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ฯลฯ หรือยาที่ส่งผลต่อสมดุลของฮอร์โมนเซโรโทนินก็อาจทำให้นอนหลับไม่สนิทได้เหมือนกัน
การนอนหลับไม่สนิทส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
แน่ล่ะว่า การนอนหลับไม่สนิททำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้พักผ่อนเต็มที่จนเกิดอาการเหนื่อยล้าระหว่างวัน แต่นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายด้านอื่นอีกด้วย เช่น
- กระทบกับการเรียนหรือการทำงาน เพราะทำให้ไม่มีสมาธิ ความทรงจำและการประมวลผลไม่มีประสิทธิภาพ
- เพิ่มความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากการหลับในหรือมีสติไม่เพียงพอ
- เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น ระบบเผาผลาญพัง ความดันโลหิตสูง สุขภาพจิตมีปัญหาเรื้อรัง ฯลฯ
- อื่น ๆ
‘การนอนหลับไม่สนิท’ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะงั้นใครที่กำลังเจอปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะนอนหลับไม่สนิทหรือถึงขั้นนอนไม่หลับเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาและปรับเปลี่ยนปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับให้เหมาะสมต่อไป สำหรับผู้ที่สมัครประกันสุขภาพกับ แรบบิท แคร์ สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านบริการ Health Caresultants ได้ฟรี โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล หากท่านใดต้องการสิทธิประโยชน์ดี ๆ แบบนิ้ อย่าลืมสมัครประกันสุขภาพตรงใจกับ แรบบิท แคร์ ได้ที่นี่ คลิก!